ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น

ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น (ฝรั่งเศส: Impression, soleil levant, อังกฤษ: Impression, Sunrise) เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบที่วาดโดยโกลด มอแน จิตรกรชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1872 ภาพมีขนาด 48 × 63 เซนติเมตร แสดงภาพทิวทัศน์ท่าเรือเมืองเลออาฟวร์ ปัจจุบันได้รับการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์มาร์มอต็องมอแนในกรุงปารีส

ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น
ศิลปินโกลด มอแน
ปีค.ศ. 1872
สื่อจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
มิติ48 cm × 63 cm (18.9 in × 24.8 in)
สถานที่พิพิธภัณฑ์มาร์มอต็องมอแน, ปารีส, ฝรั่งเศส

ในปี ค.ศ. 1872 มอแนเดินทางไปเยี่ยมบ้านเกิดที่เมืองเลออาฟวร์แล้ววาดภาพหลายภาพที่ท่าเรือ มีหกภาพที่แสดงถึงช่วงเวลาย่ำรุ่ง กลางวัน โพล้เพล้ และกลางคืนที่ท่าเรือในมุมมองที่แตกต่างกัน บางจุดวาดจากท่าเรือโดยตรง บางจุดวาดจากห้องพักในโรงแรมที่ใกล้กับท่าเรือ[1] มอแนวาดภาพ ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น จากหน้าต่างโรงแรมที่มองออกไปเห็นท่าเรือเลออาฟวร์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1872[2] ต่อมาภาพนี้ถูกจัดแสดงในนิทรรศการของศิลปินนอกขนบที่กรุงปารีส ปี ค.ศ. 1874 ร่วมกับงานของศิลปินอื่น ๆ เช่น แอดการ์ เดอกา, กามีย์ ปีซาโร, ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ และอัลเฟรด ซิสลีย์[3] ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น เป็นภาพท่าเรือเลออาฟวร์ยามย่ำรุ่ง มีเรือเล็กสองลำที่มีผู้คนบนเรืออยู่ด้านหน้า ด้านหลังมีปล่องควันเรือจักรไอน้ำและจากโรงงานเป็นเงาเลือนราง ด้านบนมีดวงอาทิตย์เป็นจุดสีแดง[4] มีการวิเคราะห์ว่ามอแนใช้ฝีแปรงแบบหยาบและสั้นเพื่อบันทึกชั่วขณะที่วาดมากกว่าจะวาดให้ดูเหมือนจริง[5] มาร์กาเร็ต ลิฟวิงสโตน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า "หากทำให้ภาพนี้กลายเป็นภาพขาวดำ จะพบว่าดวงอาทิตย์ที่ปรากฏในภาพหายไปเกือบหมด" ลิฟวิงสโตนกล่าวเพิ่มว่า เทคนิคที่มอแนใช้ส่งผลต่อเปลือกสมองส่วนการเห็นที่รับรู้ถึงความส่องสว่างและสี ทำให้ผู้ชมมองเห็นดวงอาทิตย์สว่างกว่าจุดอื่น[6]

หลุยส์ เลอรัว นักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศสเผยแพร่บทความเกี่ยวกับผลงานในนิทรรศการปี ค.ศ. 1874 ในหนังสือพิมพ์ เลอชารีวารี เขาวิจารณ์ว่า ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น เป็นเพียงภาพร่างมากกว่าจะเป็นภาพที่วาดแล้วเสร็จ และกล่าวเชิงเสียดสีว่าเขารู้สึก "ประทับใจ" ภาพนี้ ต่อมาคำว่าประทับใจของเลอรัวได้รับการยอมรับแพร่หลายจนกลายเป็นชื่อลัทธิประทับใจ ขบวนการทางศิลปะช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[7] ภาพนี้เคยถูกขโมยไปจากพิพิธภัณฑ์มาร์มอต็องมอแนในปี ค.ศ. 1985 ก่อนจะถูกตามกลับคืนมาได้ในปี ค.ศ. 1990[8] และถูกนำกลับไปจัดแสดงในปีต่อมา[9]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย