คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นหนึ่งในสี่ของมหาวิทยาลัยภายหลังที่ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และนับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นคณะเศรษฐศาสตร์คณะแรกที่มีการเริ่มใช้หลักสูตรนานาชาติทั้งในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญา ปัจจุบันมีการผลิตนักเศรษฐศาสตร์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเศรษฐกิจต่างๆ ไปพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Economics,
Thammasat University
สถาปนา14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 (75 ปี)
คณบดีผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ
ที่อยู่
วารสารวารสารเศรษฐศาสตร์
สี  สีเขียว
มาสคอต
ฟันเฟืองและรวงข้าว
เว็บไซต์www.econ.tu.ac.th

ประวัติ

พ.ศ. 2477 เมื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาตรีเพียงสาขาเดียวคือ สาขานิติศาสตร์ ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ธ.บ. โดยในภาคที่ 5 และ 6 ของหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต มีวิชาเศรษฐศาสตร์อยู่ 2 วิชา คือ "เศรษฐศาสตร์" และ "ลัทธิเศรษฐกิจ" ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นท่านแรก และศาสตราจารย์ฮัจ เจสสัน เป็นผู้สอนวิชาลัทธิเศรษฐกิจ[1] นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนด้านเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย

ทั้งนี้การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระยะแรก เป็นการสอนตามแนวฝรั่งเศสแบบเก่า อาศัยผู้สอนที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส ยังไม่มีผู้สอนที่จบเศรษฐศาสตร์โดยตรง

ต่อมาเปิดมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาโทและเอก โดยมีศาสตราจารย์แอล ดูปลาตร์ ซึ่งมีตำแหน่งคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

พ.ศ. 2492 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และเปลี่ยนโครงสร้างเป็นคณะต่างๆ โดยได้ประกาศจัดตั้งคณะ 4 คณะ ได้แก่คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 จึงถือเป็นการกำเนิดขึ้นของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นคณบดีคนแรก

พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ารับตำแหน่งคณบดี โดยมีภารกิจสำคัญคือ การสร้างบุคลากร ได้ขอเพิ่มอัตราตำแหน่งอาจารย์ ติดต่อหาทุนเรียนต่อต่างประเทศให้อาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่รับเข้า หาอาจารย์ชาวต่างประเทศมาช่วยปูพื้นความรู้ของอาจารย์ที่จะส่งไปเรียนต่อ และช่วยวางหลักสูตรเศรษฐศาสตร์โดยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ทำให้คณะเศรษฐศาสตร์มีอาจารย์ประจำเพิ่มขึ้นจาก 6 คน เป็น 59 คน ในเวลาเพียง 6 ปี[2]

พ.ศ. 2508 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีภาคค่ำ

พ.ศ. 2509 มีการประกาศใช้หลักสูตรปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ที่ได้มาตรฐานหลักสูตรแรกของไทย ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ สถิติเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร และเศรษฐศาสตร์ประยุกต์[3]

พ.ศ. 2512 ได้เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรแรกในไทย การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษและเรียนเต็มเวลา

พ.ศ. 2536 เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) หลักสูตรและหลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ)

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพของบัณฑิตของคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นที่ยอมรับของทั้งในและนานาประเทศ ซึ่งย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของคณาจารย์และบุคลากรในคณะเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บัณฑิตของคณะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศในระดับนโยบายและปฏิบัติ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในองค์กรระหว่างประเทศอีกด้วย

หลักสูตร

ปริญญาตรี

  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศบ.) (Bachelor of Economics: B.Econ.) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศบ.ภาคภาษาอังกฤษ) (Bachelor of Economics, English Programme: B.Econ., English Programme) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ปริญญาโท

  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศม.) (Master of Economics: M.Econ.) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศม.ภาคภาษาอังกฤษ) (Master of Economics, English Programme: M.Econ., English Programme) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (ศม.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) (Master of Business Economics,: M.Econ., Business Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติเศรษฐศาสตร์ (ศศ.ม.นิติเศรษฐศาสตร์)(Master of Arts,: M.A., International Trade Laws and Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเป็นโครงการร่วมกับคณะนิติศาสตร์

ปริญญาเอก

  • ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หรือ Philosophy of Economics Programme (Ph.D., Economics) ภาคภาษาอังกฤษ ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทำเนียบคณบดี

คณบดีและรักษาการคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4]

รายชื่อตำแหน่งวาระการดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาครักษาการในตำแหน่งคณบดี14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – XX ตุลาคม พ.ศ. 2492
ศาสตราจารย์ ขุนประเสริฐศุภมาตราคณบดีXX ตุลาคม พ.ศ. 2492 – XX กรกฎาคม พ.ศ. 2499
ศาสตราจารย์ ดร.สมทบ สุวรรณสุทธิคณบดีXX กรกฎาคม พ.ศ. 2499 – XX กันยายน พ.ศ. 2507
ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์คณบดีXX กันยายน พ.ศ. 2507 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2514
ดร.วิญญู วิจิตรวาทการรักษาการแทนคณบดี21 สิงหาคม พ.ศ. 2514 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณีรักษาการในตำแหน่งคณบดี19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 18 มกราคม พ.ศ. 2517
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณีคณบดี19 มกราคม พ.ศ. 2517 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรมรักษาการในตำแหน่งคณบดี18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 14 มกราคม พ.ศ. 2518
รองศาสตราจารย์ ดร.ลิลี่ โกศัยยานนท์คณบดี15 มกราคม พ.ศ. 2518 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย จรรย์ศุภรินทร์คณบดี15 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521
รองศาสตราจารย์ ดร.ลิลี่ โกศัยยานนท์รักษาการในตำแหน่งคณบดี28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 – 14 เมษายน พ.ศ. 2521
ดร.โฆษะ อารียาคณบดี15 เมษายน พ.ศ. 2521 – 4 เมษายน พ.ศ. 2523
ดร.โฆษะ อารียารักษาการในตำแหน่งคณบดี5 เมษายน พ.ศ. 2523 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2523
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้วคณบดี6 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้วรักษาการในตำแหน่งคณบดี6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรมคณบดี27 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527
อาจารย์ ศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุขคณบดี1 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
รองศาสตราจารย์ ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์คณบดี20 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ จุนอนันตธรรมคณบดี1 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2534
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศคณบดี1 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตรคณบดี1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
รองศาสตราจารย์ ดร.สิริลักษณา คอมันตร์คณบดี1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 – 30 เมษายน พ.ศ. 2543
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ จุนอนันตธรรมรักษาการแทนคณบดี1 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543
รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา นิธังกรคณบดี2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 เมษายน พ.ศ. 2546
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร เลียวไพโรจน์รักษาการในตำแหน่งคณบดี1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2546
ศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ทินกรคณบดี1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกรคณบดี1 เมษายน พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี (โพชนุกูล) ซูซูกิคณบดี1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ นิธิประภาคณบดี1 เมษายน พ.ศ. 2554 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนาคณบดี1 เมษายน พ.ศ. 2557 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2560
รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการคณบดี1 เมษายน พ.ศ. 2560 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการรักษาการแทนคณบดี1 เมษายน พ.ศ. 2563 – 30 เมษายน พ.ศ. 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติคณบดี1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

ประธานคณะกรรมการนักศึกษา

คณะกรรมการนักศึกษาคณะได้มาโดยการเลือกตั้งทั่วไปภายในคณะ เป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะและรับผิดชอบบริหารกิจกรรมทั้งปวงเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ [5]

รายชื่อตำแหน่งวาระการดำรงตำแหน่ง
อรรถกร โพธิ์ใยประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2553
ศิรวัฒน์ ภาษาเวทย์ประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2554
อุทิศ ถีระแก้วประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2555
วิจิร์ ผสมทรัพย์ประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2556
ชุลี กอบวิทยาวงศ์ประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2557
โยธิน กิตติธรประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2558
กาจบัณฑิต บัณฑิตสกุลพรประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2559
จิตชนก ลิ่มสิริตรังค์ประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2560 [6]
มัธยะ บุญฤทธิ์ลักขณาประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2561
กฤตภาส ลิมป์สีสวรรค์ประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2562
วีรภัทร แพรสมบูรณ์ประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2563
ธีรพงศ์ ชาญจิรกิตติประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2564
ปพนธีร์ สิทธิโชคประธานกนศ.ศ.ปีการศึกษา 2565

บุคคลมีชื่อเสียง

บางส่วนจากรายชื่อศิษย์เก่าดีเด่น[7] และ คอลัมน์ "ซูม" จากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

อ้างอิง



🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย