คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนึ่งในสี่คณะเริ่มแรกตั้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพัฒนามาจาก "โรงเรียนป่าไม้" จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเกี่ยวกับการจัดการป่าไม้ ชีววิทยาป่าไม้ วิศวกรรมป่าไม้ วนวัฒนวิทยา วนผลิตภัณฑ์ และอนุรักษวิทยา ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก ผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะวนศาสตร์สามารถเข้าปฏิบัติงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับป่าไม้ เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นต้น

คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Forestry,
Kasetsart University
สถาปนา1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479
(88 ปี 195 วัน)
คณบดีผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย
ที่อยู่
วารสารวารสารวนศาสตร์
(Thai Journal of Forestry)
เพลงชีวิตวนศาสตร์
สี███ สีน้ำตาล [1]
มาสคอต
ละองละมั่ง
เว็บไซต์www.forest.ku.ac.th

ประวัติ

คณะวนศาสตร์ วิวัฒนาการมาจาก "โรงเรียนป่าไม้" ของ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตราธิการ เปิดสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ที่จังหวัดแพร่ โดยในระยะแรกได้ใช้หลักสูตรการศึกษา 2 ปี ผู้ที่เรียนจบตามหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรการป่าไม้ ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้โอนมาอยู่ในสังกัด "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนป่าไม้" เป็น "โรงเรียนวนศาสตร์" โดยจะรับนิสิตเฉพาะผู้ที่สำเร็จจาก "โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่โจ้"เท่านั้น นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงหลักสูตรจาก 2 ปี เป็น 3 ปี โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับอนุปริญญาวนศาสตร์ และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "วิทยาลัยวนศาสตร์" โดยรับนิสิตผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโดยทั่วไปเข้าศึกษาด้วย

ในปี พ.ศ. 2486 ได้มีการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ขึ้น วิทยาลัยวนศาสตร์จึงได้เปลี่ยนเป็น "คณะวนศาสตร์" และได้ย้ายมาอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่คณะวนศาสตร์ยังคงเปิดการเรียนการสอนอยู่ที่จังหวัดแพร่ และได้ย้ายมาอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) เมื่อปี พ.ศ. 2499 พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรโดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาวนศาสตรบัณฑิต และเริ่มเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2510[2] โดยที่โรงเรียนป่าไม้ จังหวัดแพร่ ยังเปิดทำการเรียนการสอนตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 จนถึงปี พ.ศ. 2536

หน่วยงาน

ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะวนศาสตร์

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรีระดับปริญญาโทระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)[3]

  • สาขาวิชาวนศาสตร์
    • สาขาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้
    • สาขาวิศวกรรมป่าไม้
    • สาขาการจัดการป่าไม้
    • สาขาวนวัฒนวิทยา
    • สาขาอุทยาน นันทนาการ และการท่องเที่ยว
    • สาขาการจัดการสัตว์ป่าและทุ่งหญ้า
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษ

หลักสูตรสองปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวนศาสตร์
    • สาขาวนศาสตร์ชุมชน คู่ขนานกับ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรป่าไม้[4]
  • สาขาวิชาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม (ภาคพิเศษ) [5]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวนวัฒน์ [6]
  • สาขาวิชาวนศาสตร์
    • สาขาวิชาวนผลิตภัณฑ์[7]
  • สาขาวิชาวนศาสตร์เขตร้อน (หลักสูตรนานาชาติ) [8]
  • สาขาวิชาวนศาสตร์ชุมชน [9]
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ [10]
  • สาขาวิชาวิศวกรรมป่าไม้ [11]
  • สาขาวิชาอุทยาน นันทนาการ และการท่องเที่ยว [12]

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวนศาสตร์[13]
    • สาขาวิชาวนวัฒนวิทยา
    • สาขาวิชาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชานิเวศวิทยาป่าไม้
    • สาขาวิชาการจัดการป่าไม้
    • สาขาวิชาวนศาสตร์เขตร้อน (หลักสูตรนานาชาติ)

ทำเนียบคณบดี

  • ทำเนียบผู้วางรากฐานการศึกษาวนศาสตร์และผู้บริหารนับตั้งแต่เป็นโรงเรียนป่าไม้แพร่ กรมป่าไม้ จนมาเป็นคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปัจจุบัน[14]
ทำเนียบคณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายพระนามและรายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. หลวงวิลาสวันวิทพ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2485
2. หลวงบริหารวนเขตพ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2487
3. อาจารย์ คิด สุวรรณสุทธิพ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2488
4. หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากรพ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2489
5. ศาสตราจารย์ เทอด สุปรีชากรพ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2491
6. พลตำรวจโท เพียรสฤษฎ์ ยุทธศิลป พิริยะโยธินพ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2491
7. ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิพ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2502
8. ศาสตราจารย์ เทียม คมกฤสพ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2513
9. ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรีพ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2515
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก ปรีชานนท์พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2523
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2530
12. รองศาสตราจารย์ ดร.สถิตย์ วัชรกิตติพ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2533
13. ศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ เรืองพานิชพ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541
15. รองศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ กุฎอินทร์พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2548
16. อาจารย์ ดร.ดำรงค์ ศรีพระรามพ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553
17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย อรุณประภารัตน์พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2557
18. อาจารย์ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559
19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม แหลมสักพ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2563
20. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชยพ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้าพระนามและนามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้าพระนามและนามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง

พิพิธภัณฑ์มด

พิพิธภัณฑ์มด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Ant Museum, Kasetsart University
บริเวณส่วนจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์มด
ก่อตั้งพ.ศ. 2544
ที่ตั้งตึกวินิจวนันดร ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภัณฑารักษ์รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา

พิพิธภัณฑ์มด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Ant Museum, Kasetsart University) ตั้งอยู่ที่ตึกวินิจวนันดร ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 พิพิธภัณฑ์มดเป็นการจัดแสดงแบบธรรมชาติวิทยา ภายในจะจัดแสดงเรื่องของมด เช่น การสื่อสารของมด, การวิวัฒนาการของมด, การสร้างรังของมด ฯลฯ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย