กุฎีเจริญพาศน์

กุฎีเจริญพาศน์, กุฎีล่าง, กุฎีกลาง หรือ มัสยิดฮุซัยนียะฮ์[1] เป็นอิมามบาระฮ์ชีอะฮ์แห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางหลวง ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

กุฎีเจริญพาศน์
Imam Barah Charoenpasana
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมขนมปังขิง (ผสมผสานระหว่างไทย-ตะวันตก)
เมืองถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2328
การออกแบบและการก่อสร้าง
ผู้พัฒนาโครงการพระยาจุฬาราชมนตรี (อากาหยี่)

ประวัติ

กุฎีเจริญพาศน์ เดิมเรียกว่า กุฎีล่าง สร้างโดยพระยาจุฬาราชมนตรี (อากาหยี่) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ถือเป็นกุฎีแห่งที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนกุฎีแห่งแรกคือกุฎีหลวง ซึ่งสร้างในรัชกาลเดียวกัน[2] บุรพชนของชาวชีอะฮ์เชื้อสายเปอร์เซียในบริเวณกุฎีนี้มาจากเมืองโกม ประเทศอิหร่าน[3] ถือเป็นสถานที่ตั้งถิ่นฐานอันเก่าแก่และในปัจจุบันก็ยังมีผู้สืบเชื้อสายอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าที่อื่น ๆ[4]: 153  ด้วยมีมัสยิดอีกสองแห่งที่อยู่ใกล้เคียงคือมัสยิดผดุงธรรมอิสลามและมัสยิดดิลฟัลลาห์ ด้วยเหตุนี้กุฎีล่างจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "กุฎีกลาง" เพราะตั้งอยู่ระหว่างมัสยิดทั้งสอง และด้วยที่เป็นชุมชนชีอะฮ์ขนาดใหญ่ ผู้คนจึงเรียกชุมชนมุสลิมนี้อย่างรวม ๆ ว่า "พวกสามกะดีสี่สุเหร่า"[5]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างสะพานเจริญพาศน์ 33 ในวโรกาสที่พระองค์มีพระชนมายุครบ 33 พรรษา จึงได้ตั้งชื่อสะพานดังกล่าว[6] เมื่อสะพานแล้วเสร็จ กุฎีล่างจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อทางการเป็น "กุฎีเจริญพาศน์" ตามชื่อสะพานมาจนถึงปัจจุบัน[5][7]

ภายในกุฎี

สถาปัตยกรรม

กุฎีเจริญพาศน์ เป็นเรือนมนิลาประดับด้วยไม้ฉลุ มีศิลปะแบบขนมปังขิง[2] หลังคาประดับกระเบื้องโมเสกสีสันสดใส[8]

พิธีแห่เจ้าเซ็น

เมื่อถึงเดือนมะหะหร่ำ จะมีพิธีที่ไทยเรียกว่า "พิธีเจ้าเซ็น" หรือ "แห่เจ้าเซ็น" ที่กระทำในสิบวันแรกของเดือน เพื่อระลึกถึงอิหม่ามฮุเซ็น หลานของนบีมุฮัมมัด ที่ถูกสังหารที่กัรบะลาอ์ ในพิธีจะมีการแห่ตุ้มบุด หรือ โต๊ะราบัด ซึ่งคือเครื่องจำลองคานหามบรรจุศพอิหม่ามฮุเซ็นมาแห่ และมีการแสดงความเสียใจด้วยการทุบอก เรียกว่า มะต่ำ พร้อมกับการขับโศลกเรียกว่า มะระเสี่ย มีการสวมเครื่องแต่งกายด้วยผ้าคลุมสีขาวเรียกว่า กัฟฟาหนี่ ซึ่งแทนผ้าห่อศพอิหม่ามฮุเซ็น นอกจากนี้ยังมีการแห่แหนสิ่งที่รำลึกถึงการตายของอิหม่าม[9] รวมทั้งมีการเดินลุยไฟ[3]และการควั่นหัวเพื่อแสดงศรัทธา[6][4]: 116 

ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้มีหมายรับสั่งให้นำพิธีกรรมดังกล่าวไปถวายให้ทอดพระเนตรในพระบรมมหาราชวังหน้าพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ติดต่อกันถึงสองปี (ในปี พ.ศ. 2358 และ พ.ศ. 2359) และมีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จชมพิธีดังกล่าวอยู่เสมอ ครั้งหลังสุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทอดพระเนตร ณ กุฎีเจริญพาศน์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2496[10]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′19″N 100°29′16″E / 13.738597°N 100.487817°E / 13.738597; 100.487817

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย