กีฬาเฟสปิก

กีฬาเฟสปิก (อังกฤษ: FESPIC Games) หรือ การแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกล และ แปซิฟิกตอนใต้ (อังกฤษ: Far East and South Pacific Games for the Disabled) เรียกว่า สหพันธ์กีฬาเฟสปิก เป็นมหกรรมกีฬาหลากหลายชนิด โดยนักกีฬาเป็นผู้พิการจากทั่วเอเชียและโอเชียเนีย เป็นมหกรรมกีฬาคนพิการอันดับสองของโลกรองจากกีฬาพาราลิมปิก (Paralympic Games) โดยจัดขึ้นครั้งแรกที่เมือง เบ็บปุ จังหวัดโออิตะ ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โดยมีนักกีฬาร่วมแข่งขัน 973 คน จาก 18 ประเทศ

การแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกล และ แปซิฟิกตอนใต้
Far East and South Pacific Games for the Disabled
สัญลักษณ์ของสหพันธ์กีฬาเฟสปิก
ชื่อย่อเฟสปิกเกมส์
FESPIC Games
ก่อตั้งครั้งที่ 1 ที่ เบ็บปุ จังหวัดโออิตะ
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
จัดขึ้นทุก4 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 9 ที่ กัวลาลัมเปอร์
มาเลเซีย มาเลเซีย
วัตถุประสงค์กีฬาสำหรับภูมิภาคเอเชีย
เว็บไซต์FESPIC สหพันธ์กีฬาเฟสปิก

กีฬาเฟสปิกเกมส์ครั้งที่ 9 จัดขึ้นครั้งสุดท้าย ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[1] เก็บถาวร 2006-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มีนักกีฬาเข้าร่วม 4,000 คน จากประเทศสมาชิก 46 ประเทศ ชิงชัยกันใน 19 ชนิดกีฬา ก่อนที่ครั้งต่อมา (ค.ศ. 2010) ในการแข่งขันที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากกีฬาเฟสปิกเป็นกีฬาเอเชียนพาราเกมส์ ให้สอดคล้องกับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ รวมถึง การแข่งขันเอเชียนพาราเกมส์ดังกล่าว ยังเป็นการเริ่มนับครั้งที่หนึ่งใหม่อีกด้วย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสนับสนุนการแสดงออกด้านสามารถทางการกีฬา ของผู้มีความพิการในมวลหมู่ประเทศสมาชิกของสหพันธ์เฟสปิก
  • เพื่อยกระดับความตระหนัก และความเข้าใจของสังคม ที่มีต่อความสามารถ ของบุคคลที่มีความพิการ
  • เพื่อสนับสนุนอุดมคติของสหพันธ์เฟสปิก ในการส่งเสริมให้บุคคลที่มีความพิการได้เข้าร่วมกิจการกีฬา และออกกำลังกายอย่างกว้างขวาง และในขณะเดียวกันจัดให้มีการแข่งขันเพื่อแสดงออกถึงความเป็นเลิศทางกีฬา

ประวัติ

เฟสปิกเกมส์ ถือกำเนิดขึ้นที่ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมีคณะบุคคล ที่สนใจในกิจกรรม และ การกีฬา สำหรับคนพิการ ในแถบภาคพื้น เอเชียตะวันออกไกล และแปซิฟิกตอนใต้ โดย ดร. ยูทากะ นาคามุระ ได้ร่วมกันก่อตั้งองค์กรทางกีฬาขึ้น เรียกว่า การแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกล และ แปซิฟิกตอนใต้ โดยใช้กิจกรรมและการกีฬาเป็นสื่อ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมความเป็นมิตร และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในกลุ่มคนพิการทั้งหลายทั่วโลก จัดการแข่งขัน 4 ปีต่อครั้ง[1]

ประเทศสมาชิกกีฬาเฟสปิก


โอเชียเนีย

ประเทศรหัสคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติก่อตั้งเมื่ออ้างอิง
 ออสเตรเลียAUSคณะกรรมการพาราลิมปิกออสเตรเลีย[2]
 ฟีจีFIJคณะกรรมการพาราลิมปิกฟิจิ[2]
 กวมคณะกรรมการพาราลิมปิกกวม[2]
 คิริบาสคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติคิริบาส[2]
 หมู่เกาะมาร์แชลล์คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติหมู่เกาะมาร์แชลล์[2]
 ไมโครนีเชียคณะกรรมการพาราลิมปิกไมโครนีเซียแห่งชาติ[2]
 นิวแคลิโดเนียNCLคณะกรรมการพาราลิมปิกนิวแคลิโดเนีย[2]
 นาอูรูNคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาตินาอูรู[2]
 นิวซีแลนด์NZLคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาตินิวซีแลนด์[2]
 หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาคณะกรรมการพาราลิมปิกหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา[2]
 ปาเลาคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติปาเลา[2]
 ปาปัวนิวกินีPNGคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติปาปัวนิวกินี[2]
 ซามัวคณะกรรมการพาราลิมปิกซามัว[2]
 หมู่เกาะโซโลมอนSOLคณะกรรมการพาราลิมปิกหมู่เกาะโซโลมอน[2]
 ตองงาคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติตองงา[2]
 ตูวาลูคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติตูวาลู[2]
 วานูวาตูคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติวานูอาตู[2]
 วอลิสและฟูตูนาWLFคณะกรรมการพาราลิมปิกวาลิสและฟูตูนา[2]

ประเภทกีฬาในการแข่งขันครั้งล่าสุด

ประเภทของความพิการ

  • ความพิการทาง แขน - ขา
  • ความพิการทางตา
  • ความพิการทางสมอง
  • กลุ่มคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์
  • ความพิการทางปัญญา

การจัดการแข่งขัน

ครั้งที่ปีวันที่เมืองเจ้าภาพประเทศเจ้าภาพประเทศเข้าร่วมนักกีฬา
119741-3 มิถุนายนเบ็บปุ จังหวัดโออิตะ ญี่ปุ่น18973
2197820-26 พฤศจิกายนปาร์รามัตตา ออสเตรเลีย16430
3198231 ตุลาคม-7 พฤศจิกายนชาติน ฮ่องกง23744
4198631 ตุลาคม-7 พฤศจิกายนสุระคาทา อินโดนีเซีย19834
5199015-20 กันยายนโกเบ ญี่ปุ่น411,646
619944-10 กันยายนปักกิ่ง จีน422,081
7199910-16 มกราคมกรุงเทพฯ ไทย342,258
8200226 ตุลาคม-1 พฤศจิกายนปูซาน เกาหลีใต้402,199
9200625 พฤศจิกายน-1 ธันวาคมกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย463,641
กีฬาเยาวชนเฟสปิก
1200324-27 ธันวาคมเกาลูน และ ชาติน ฮ่องกง15584

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย