การุญ จันทรางศุ

รองศาสตราจารย์ การุญ จันทรางศุ[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย (เลื่อนขึ้นมาแทนคนที่เป็นรัฐมนตรี ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2544 อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1[2] , กรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร, กรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)[3], รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม คนที่ 5 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2544, อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, อดีตกรรมการสภาวิศวกร, อดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์

การุญ จันทรางศุ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541 – 2546)
พลังประชาชน (2546 – 2551)

ประวัติ

การุญ จันทรางศุ เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วไปเรียนต่อทางด้านโยธาจบปริญญาโท และปริญญาเอกด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐอเมริกา [4][5]

การุญเคยเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเป็นรองคณบดีฝ่ายกิจกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะเดียวกัน เป็นหัวหน้าภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และรักษาการหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ ควบคู่ไปด้วย และดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535นอกจากนั้น การุญยังเคยเป็นกรรมการอำนวยการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อยู่ในระยะหนึ่ง และยังเป็นกรรมการสภาวิศวกรหลายสมัย

ในทางการเมือง การุญเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (พ.ศ. 2544 - 2547) ทั้งนี้ในกลางปี พ.ศ. 2547 การุญได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยสังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่งได้เบอร์ 11 และเรียกชื่อตัวเองในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า "ดร.เค"[6] ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย