การจมเรนโบว์วอร์ริเออร์

การจมเรนโบว์วอร์ริเออร์ ชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการซาตาน[1] (ฝรั่งเศส: Opération Satanique) เป็นปฏิบัติการโดยฝ่ายปฏิบัติการของหน่วยสืบราชการลับต่างประเทศของฝรั่งเศส หน่วยอำนวยการความมั่นคงภายนอก (ฝรั่งเศส: Direction Générale de la Sécurité Extérieure, DGSE) ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 โดยมีเป้าหมายจมเรือธงของกองเรือกรีนพีซ ที่ชื่อ เรนโบว์วอร์ริเออร์ ในท่าออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อป้องกันมิให้เรือเข้าไปขัดขวางการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในเกาะโมรูโรอา

ภาพวาดของ Rainbow Warrior

ฟืร์นังดู ปือไรรา ช่างภาพ จมน้ำเสียชีวิตจากเหตุจมเรือดังกล่าว เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสสองคนถูกจับกุมโดยตำรวจนิวซีแลนด์ในข้อหาปลอมแปลงหนังสือเดินทางและเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งสองยังถูกตั้งข้อหาวางเพลิง สมคบเพื่อวางเพลิง ทำให้เสียทรัพย์โดยเจตนา และฆาตกรรม บางส่วนจากการต่อรองคำรับสารภาพ (plea bargain) พวกเขาถูกตัดสินว่าผิดจริงฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา และถูกตัดสินจำคุกสิบปี แต่รับโทษจริง ๆ เกินสองปีเล็กน้อย

กรณีอื้อฉาวดังกล่าวนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของชาร์ล แอร์นูว์ (Charles Hernu) รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส

เบื้องหลัง

ในคริสต์ทศวรรษ 1980 คณะกรรมาธิการพลังงานอะตอมและพลังงานทางเลือก (Commissariat à l'énergie atomique) กำลังพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์สำหรับขีปนาวุธนำวิถีปล่อยจากเรือดำน้ำ M4 ซึ่งถูกทดสอบโดยการระเบิดใต้ดินในเกาะวงแหวนโมรูโรอาในเฟรนช์โปลินีเซีย

กรีนพีซคัดค้านการทดลองดังกล่าวและวางแผนจะนำเรือยอตไปยังเกาะวงแหวนดังกล่าวเพื่อประท้วง รวมทั้งการรุกล้ำอย่างผิดกฎหมายเข้าไปในเขตทหารของฝรั่งเศส เรนโบว์วอร์ริเออร์ไม่เคยเดินทางมายังนิวซีแลนด์มาก่อน แต่พรรคแรงงานนิวซีแลนด์ของเดวิด ลองงี คัดค้านการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และห้ามเรือติดอาวุธนิวเคลียร์หรือพลังงานนิวเคลียร์มิให้เทียบท่านิวซีแลนด์ ผลที่ตามมาคือ สหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในกระบวนการถอนตัวจากข้อผูกมัดสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแอนซัส (ANSUS)

รัฐบาลฝรั่งเศสตัดสินใจว่า เพื่อจะหยุดแผนการประท้วง เรือธงของกรีนพีซจะต้องถูกจม ปฏิบัติการของซาตานมุ่งจะทำลายเรนโบว์วอร์ริเออร์เพื่อให้ใช้การไม่ได้ระหว่างที่กำลังจอดอยู่ในท่า และพยายามหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความสูญเสีย ยี่สิบปีหลังเหตุการณ์ รายงานโดยหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับฝรั่งเศสในขณะนั้น กล่าวว่า การโจมตีดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส ฟร็องซัว มีแตร็อง

การจมเรือ

เจ้าหน้าที่ขึ้นเรือและตรวจสอบเรือขณะที่กำลังเปิดให้เข้าชมแก่สาธารณะ เจ้าหน้าที่ DGSE คริสตีน กาบง (Christine Cabon) ซึ่งปลอมตัวเป็นนักสิ่งแวดล้อม อาสาสมัครกับสำนักงานกรีนพีซในออกแลนด์ กาบงเฝ้าจับตาการสื่อสารของเรนโบว์วอร์ริเออร์อย่างลับ ๆ รวบรวมแผนที่และตรวจสอบเครื่องมือใต้น้ำ เพื่อจัดหาข้อมูลที่จำเป็นต่อการจมเรือ หลังจากที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นแล้ว นักดำน้ำ DGSE สองคนใต้เรนโบว์วอร์ริเออร์แนบระเบิดหอยทาก (limpet mine) สองลูกและจุดระเบิดห่างกัน 10 นาที ระเบิดลูกแรกระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 23.38 น. ทำให้เกิดรูขนาดใหญ่เทียบได้กับขนาดของรถทั่วไป เจ้าหน้าที่ตั้งใจจะให้ระเบิดลูกแรกทำให้เรือใช้การไม่ได้ เพื่อที่ทุกคนจะได้อพยพอย่างปลอดภัยลงจากเรือ เมื่อระเบิดลูกที่สองถูกจุดระเบิด อย่างไรก็ตาม ลูกเรือไม่ได้ตอบสนองต่อการระเบิดครั้งแรกอย่างที่เจ้าหน้าที่คาดหวัง ขณะที่มีการอพยพลงจากเรือในช่วงแรก ลูกเรือบางส่วนกลับขึ้นเรือมาเพื่อหาสาเหตุและถ่ายภาพความเสียหาย ช่างภาพชาวโปรตุเกส-ดัตช์ ฟืร์นังดู ปือไรรา กลับไปใต้ดาดฟ้าเรือเพื่อไปเอาเครื่องมือกล้องของเขา เมื่อเวลา 23.45 น. ระเบิดลูกที่สองระเบิดขึ้น ปือไรราจมน้ำเสียชีวิตหลังน้ำไหลเข้ามาในเรืออย่างรวดเร็ว และสมาชิกลูกเรือคนอื่นอีกสิบคนถูกอพยพอย่างปลอดภัยตามคำสั่งของกัปตันปีเตอร์ วิลคอกซ์ หรือถูกแรงระเบิดจนตกลงไปในน้ำโดยการระเบิดครั้งที่สอง เรนโบว์วอร์ริเออร์จมในอีกสี่นาทีต่อมา

เหตุการณ์อื้อฉาว

ปฏิบัติการของซาตานเป็นความหายนะทางการประชาสัมพันธ์ของฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรกับนิวซีแลนด์ ตอนแรกฝรั่งเศสปฏิเสธความเกี่ยวข้องและร่วมประณามว่าเป็นเหตุก่อการร้าย

หลังเหตุระเบิด การไต่สวนเหตุฆาตกรรมเริ่มต้นขึ้นโดยตำรวจนิวซีแลนด์ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่สามารถหลบหนีออกนอกประเทศมาได้ ยกเว้นสองคนได้แก่ ร้อยเอก ดอมีนิก พรีเยอร์ และผู้บัญชาการ อาแล็ง มาฟาร์ ซึ่งปลอมตัวเป็นคู่สมรสและถือหนังสือเดินทางสวิตเซอร์แลนด์ ถูกระบุว่าอาจเป็นผู้ต้องสงสัยโดยตำรวจนิวซีแลนด์หลังตำรวจรวบรวมคำให้การของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ทั้งสองถูกจับกุมและต่อมาได้ถูกตั้งคำถามและสอบสวน และเอกลักษณ์ที่แท้จริงของพวกเขาถูกเปิดเผย พร้อมด้วยความรับผิดชอบของรัฐบาลฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่ทั้งสองรับสารภาพว่าฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาและถูกตัดสินจำคุกสิบปีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528

ฝรั่งเศสขู่ว่าจะห้ามนิวซีแลนด์ส่งสินค้าออกไปยังประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หากยังไม่ปล่อยคนทั้งสอง[2] นี้จะยังให้นิวซีแลนด์ ซึ่งพึ่งพาการส่งสินค้าเกษตรออกไปยังอังกฤษ ต้องได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจ

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2529 การตกลงทางการเมืองกับเดวิด ลองงี นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และได้คาเบียร์ เปเรซ เด กูเอยาร์ เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นอนุญาโตตุลาการ ฝรั่งเศสตกลงจะจ่ายเป็นเงิน 13 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์และขอโทษ แลกกับการที่มาฟาร์และพรีเยอร์จะถูกกักตัวไว้ที่ฐานทัพฝรั่งเศสบนเกาะวงแหวนอาโอเป็นเวลาสามปี อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทั้งสองกลับฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังอยู่บนเกาะน้อยกว่าสองปี มาฟาร์กลับสู่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เพื่อเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ และปรากฏว่าถูกปล่อยตัวหลังเข้ารับการรักษา เขายังรับรัฐการอยู่ในกองทัพฝรั่งเศสและได้เลื่อนยศเป็นพันเอกใน พ.ศ. 2536 พรีเยอร์กลับสู่ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 เพราะเธอตั้งครรภ์ ทำให้สามีของเธอได้รับอนุญาตให้อยู่กับเธอบนเกาะ เธอได้รับอิสระเช่นกัน และภายหลังได้เลื่อนยศ การย้ายเจ้าหน้าที่ทั้งสองจากอาโอโดยไม่กลับมาในภายหลังถูกตัดสินว่าขัดต่อความตกลง พ.ศ. 2539[3]

ส่วนเจ้าหน้าที่คนอื่นอีกสามคนถูกจับกุมโดยตำรวจออสเตรเลียบนเกาะนอร์ฟอล์ก แต่ถูกปล่อยตัวไปเนื่องจากกฎหมายออสเตรเลียไม่อนุญาตให้จับกุมตัวไว้จนกว่าผลการทดสอบทางนิติเวชจะกลับมา ส่วนเจ้าหน้าที่คนที่หก ซึ่งเป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการ ไม่เคยถูกจับกุมและไม่เคยถูกตั้งข้อหา เขายอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องระหว่างให้สัมภาษณ์แก่บริษัทกระจายเสียงของรัฐนิวซีแลนด์ใน พ.ศ. 2548[4]

คณะกรรมการสืบสวนนำโดยแบร์นาร์ ทรีโก ลบล้างรัฐบาลฝรั่งเศสว่ามีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ที่ถูกจับกุมนั้น ผู้ยังไม่ได้ยอมรับสารภาพ เพียงแต่สืบกรีนพีซเท่านั้น เมื่อเดอะไทมส์และเลอมงด์ อ้างว่าประธานาธิบดีมีแตร็องอนุมัติการระเบิด รัฐมนตรีกลาโหมของฝรั่งเศสได้ลาออก และหัวหน้า DGSE ถูกไล่ออก นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส โลร็อง ฟาบียุส ยอมรับว่าเหตุระเบิดเป็นแผนของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2528 เขาเรียกผู้สื่อข่าวมายังสำนักงานของเขา และอ่านแถลงการณ์ โดยยอมรับว่ามีการปกปิด มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ความจริงนั้นโหดร้าย [...] เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับฝรั่งเศสจมเรือลำนี้ พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่ง"[5]

ผลที่ตามมา

อนุสรณ์สถานการจมเรนโบว์วอร์ริเออร์ ณ Matauri Bay in Northland ประเทศนิวซีแลนด์

ด้วยความตื่นตัวต่อเหตุระเบิด กองเรือยอตเอกชนนิวซีแลนด์ได้แล่นไปยังโมรูโรอาเพื่อประท้วงการทดลองนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ส่วนการทดลองนิวเคลียร์ในแปซิฟิกของฝรั่งเศสถูกชะลอออกไป แม้จะมีการทดลองอีกหลายครั้งตามมาใน พ.ศ. 2538[6] ใน พ.ศ. 2530 ภายใต้แรงกดดันจากนานาชาติ รัฐบาลฝรั่งเศสจึงจ่ายเงิน 8.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่กรีนพีซ

เรนโบว์วอร์ริเออร์ถูกกู้ขึ้นมาเพื่อการตรวจสอบทางกฎหมาย คาดว่าเรือไม่สามารถซ่อมแซมได้และจมลงที่พิกัด 34°58′29″S 173°56′06″E / 34.9748°S 173.9349°E / -34.9748; 173.9349 ในอ่าวมาตัวรี ใกล้กับหมู่เกาะคาวัลลี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เพื่อใช้ดำน้ำเรือจม (wreck diving) และเป็นที่อยู่อาศัยของปลา เสาเรือถูกนำออกไปและไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทางทะเลดาร์กาวิลล์

ความล้มเหลวของพันธมิตรในโลกตะวันตกอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ในการประณามเหตุการณ์ซึ่งอาจถูกมองได้ว่าเป็นเหตุแห่งสงครามต่อนิวซีแลนด์ของฝรั่งเศส ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศและกลาโหม[7] นิวซีแลนด์วางตัวห่างจากอดีตพันธมิตร สหรัฐอเมริกา และสร้างความสัมพันธ์กับชาติขนาดเล็กในแปซิฟิกใต้ ขณะที่ยังคงความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมกับออสเตรเลีย และในขอบเขตน้อยกว่า กับสหราชอาณาจักร[8]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

36°50′33″S 174°46′18″E / 36.842405°S 174.771579°E / -36.842405; 174.771579

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย