การกอด

การกอด (อังกฤษ: hug) เป็นรูปแบบของความใกล้ชิดทางกาย (physical intimacy) และเป็นสิ่งสากลในชุมชนมนุษย์ ซึ่งคนสองคนหรือมากกว่านำแขนคล้องรอบคอ หลัง หรือเอวของกันและกันเพื่อจับกันไว้อย่างใกล้ชิด หากมีคนร่วมมากกว่าสองคนจะเรียกว่า การกอดแบบกลุ่ม (group hug)

การกอดหลังชัยชนะในกีฬา

แหล่งกำเนิดคำ

ไม่มีใครรู้ต้นกำเนิดที่แท้จริงของคำ ทว่าขณะนี้มีอยู่สองทฤษฎีที่เป็นไปได้ ทฤษฎีแรกคือคำกริยา "hug (การกอด)" ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกสมัยคริสต์ทศวรรษ 1560 อาจเกี่ยวข้องกับคำว่า hugga ในภาษานอร์สโบราณ ที่แปลว่าการปลอบประโลม ทฤษฎีที่สองเกี่ยวข้องกับคำว่า hegen ในภาษาเยอรมัน ซึ่งแปลว่า การเลี้ยงดูหรือดูแล แต่เดิมแปลว่าการล้อมด้วยพุ่มไม้[1]

ลักษณะ

Madame Vigée-Lebrun et sa fille โดย Louise Élisabeth Vigée Le Brun, ค.ศ. 1789

การกอดบางครั้งใช้ร่วมกับการจูบ เป็นรูปแบบนึงของอวัจนภาษา การกอดสามารถชี้ถึงความคุ้นเคย, ความรัก, ความหลง, ความเป็นเพื่อน, ความเป็นพี่น้อง หรือความเห็นใจ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม บริบท และความสัมพันธ์[2] การกอดสามารถชี้ถึงการสนับสนุน การปลอบประโลม และเป็นการปลอบขวัญโดยเฉพาะสถานการณ์ที่คำพูดไม่เพียงพอ การกอดมักแสดงถึงความรักและความอบอุ่นทางอารมณ์ บางครั้งอาจมาจากความดีใจหรือความสุขเมื่อพบเจอคนที่ไม่ได้เจอมาเป็นเวลานาน การกอดฝ่ายเดียวอาจแสดงถึงปัญหาในความสัมพันธ์ การกอดสามารถเป็นเพียงการบีบเพียงหนึ่งวินาทีโดยที่แขนอาจไม่ได้ล้อมรอบตัวอีกคน หรืออาจเป็นคงไว้เป็นเวลานาน ระยะเวลาในการกอดขึ้นอยู่กับสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละสถานการณ์[3]

ต่างจากการสัมผัสทางกายแบบอื่น การกอดสามารถกระทำในที่สาธารณะและที่ส่วนตัวโดยไม่ถูกมองว่าเป็นมลลักษณ์ทางสังคม (social stigma) ในหลายประเทศ ศาสนา และวัฒนธรรม ทั้งภายในครอบครัว และในทุกช่วงอายุและเพศ[4]

การกอดอย่างไม่คาดฝันอาจถูกมองว่าเป็นการบุกรุกพื้นที่ส่วนตัว ทว่าหากอีกฝ่ายรู้ตัวก็อาจเป็นการสื่อถึงการต้อนรับ นักวิจารณ์วัฒนธรรมตะวันตกบางคนเสนอให้หลีกเลี่ยงการกอดในที่ทำงานเพื่อป้องกันสถานการณ์น่าอึดอัด โดยเฉพาะกับบางคนที่ไม่ชอบกอด[5] นอกจากนี้ คนโดยเฉพาะเด็กอาจกอดตุ๊กตาหรือของเล่น เด็กเล็กยังมักกอดผู้ปกครองเมื่อรู้สึกโดนรุกรานโดยคนแปลกหน้า พฤติกรรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่าการเกาะติดมากกว่าการกอดเนื่องจากเป็นการแสดงถึงความต้องการให้ปกป้อง ไม่ใช่การแสดงความรัก

ประโยชน์ทางสุขภาพ

มีหลักฐานว่าการกอดให้ผลดีทางสุขภาพ งานวิจัยหนึ่งแสดงว่าการกอดเพิ่มระดับออกซิโตซิน และลดความดันเลือด[6]

งานวิจัยชี้ว่าการกอดนานกว่า 20 วินาทีทำให้ออกซิโทซินถูกปล่อยออกมา[7]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การกอด
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย