กองรบพิเศษที่ 3 (สหรัฐ)

หน่วยรบพิเศษกองทัพบกสหรัฐ

กองรบพิเศษที่ 3 (ส่งทางอากาศ) (อังกฤษ: 3rd Special Forces Group (Airborne); อักษรย่อ: 3rd SFG(A)) – มักเรียกกันง่าย ๆ ว่ากองที่ 3 – เป็นหน่วยรบพิเศษกองทัพบกสหรัฐ (SF) ซึ่งมีบทบาทในสมัยสงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1963–1969) โดยได้หยุดปฏิบัติการ และกลับมาปฏิบัติการใหม่ในปี ค.ศ. 1990 กองที่ 3—ตามที่เรียกกันในบางครั้ง—ได้รับการออกแบบมาเพื่อกรีธาพลและปฏิบัติภารกิจทั้งเก้า ได้แก่ การสงครามนอกแบบ, การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ, การปฏิบัติภารกิจโดยตรง, การปราบปรามการก่อกบฏ, การลาดตระเวนพิเศษ, การต่อต้านการก่อการร้าย, ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร, การต่อต้านการแพร่ขยายอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการสนับสนุนกองกำลังรักษาความมั่นคง[2] กองรบพิเศษที่ 3 มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานภายในพื้นที่รับผิดชอบของแอฟริคอม โดยเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ทวีปแอฟริกา (SOCAFRICA) อันมีพื้นที่ปฏิบัติการหลัก (AO) คือทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งโซคอมปี ค.ศ. 2015[3] แต่กองที่ 3 ก็ยังมีส่วนร่วมในแคริบเบียนและดินแดนตะวันออกกลางที่ยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ กองรบพิเศษที่ 3 ได้ปฏิบัติการรบอย่างกว้างขวางในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และสมาชิกของกองรบนี้มีความโดดเด่นบนสมรภูมิในประเทศอัฟกานิสถาน

กองรบพิเศษที่ 3 (ส่งทางอากาศ)
3rd Special Forces Group (Airborne)
เครื่องหมายหน้าหมวกเบอเรต์ของกองรบพิเศษที่ 3
ประจำการ5 ธันวาคม ค.ศ. 1963 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1969
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 – ปัจจุบัน
ประเทศ สหรัฐ
เหล่า กองทัพบกสหรัฐ
รูปแบบหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
ขึ้นกับ กองบัญชาการรบพิเศษที่ 1
กองบัญชาการค่ายแบรกก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา
คำขวัญ"เพื่อปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่" (De Oppresso Liber)
ปฏิบัติการสำคัญสงครามเวียดนาม

สงครามอ่าว
ปฏิบัติการรักษาประชาธิปไตย
สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

เครื่องหมายสังกัด
อดีตแถบการรับรู้กองรบพิเศษที่ 3 (ส่งทางอากาศ) สวมใส่โดยทหารมีคุณสมบัติปฏิบัติการไม่พิเศษ—แทนเครื่องหมายหน้าหมวกเบอเรต์—จากคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง ค.ศ. 1984[1]
อาร์มหน่วยที่ไหล่ของหน่วยบัญชาการรบพิเศษที่ 1 (ส่งทางอากาศ) สวมใส่โดยหน่วยกองรบพิเศษที่ 1 (ส่งทางอากาศ)
กองรบพิเศษสหรัฐ
ก่อนถัดไป
กองรบพิเศษที่ 1กองรบพิเศษที่ 5

ประวัติ

คริสต์ทศวรรษ 1960

กองรบพิเศษที่ 3 เคลื่อนพลครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ที่ค่ายแบรกก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา สี่สีของเสี้ยวหนึ่งของวงกลมที่เครื่องหมายหน้าหมวกเบอเรต์ของกองรบพิเศษที่ 3 นั้นมาจากเครื่องหมายหน้าหมวกของหน่วยรบพิเศษที่มีอยู่ก่อน ซึ่งสมาชิกกองรบพิเศษที่ 3 ถูกดึงออกมาในตอนแรก (ด้วยเหตุนี้ คำขวัญดั้งเดิมจึงเป็น "จากที่เหลือมาเป็นดีที่สุด") สีเหล่านี้ ได้แก่ สีเหลือง (กองรบพิเศษที่ 1 (ส่งทางอากาศ)), สีแดง (กองรบพิเศษที่ 7 (ส่งทางอากาศ)), สีดำ (กองรบพิเศษที่ 5 (ส่งทางอากาศ)) และสีขาว (กองฝึกรบพิเศษ (ส่งทางอากาศ)) ซึ่งกองรบพิเศษที่ 3 เดิมทีมุ่งเน้นไปที่ตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 หน่วยนี้ได้ฝึกกองกำลังติดอาวุธของประเทศมาลี, ประเทศอิรัก, ประเทศเอธิโอเปีย, ประเทศคองโก และประเทศจอร์แดน – นอกเหนือจากการสนับสนุนการปล่อยยานอวกาศอย่างยานเจมินี 6 และ 7 ใน ค.ศ. 1965 กองรบพิเศษที่ 3 ยังปฏิบัติงานร่วมกับกองรบพิเศษที่ 5 (ส่งทางอากาศ) ในสงครามเวียดนาม ส่วนใน ค.ศ. 1966 กองรบพิเศษที่ 3 ได้โอนอำนาจควบคุมชุดปฏิบัติการพิเศษสำนักงานความมั่นคงกองทัพบกที่ 403 และกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยาที่ 19 ไปยังกองรบพิเศษที่ 5[4] ด้วย "การแผลงเป็นเวียดนาม" ของความขัดแย้ง กองรบพิเศษที่ 3 (ส่งทางอากาศ) ได้ถูกหยุดยั้งการปฏิบัติงานใน ค.ศ. 1969 และเหล่าสมาชิกถูกย้ายกลับไปยังกองรบพิเศษอื่น ๆ (นายทหารกองรบพิเศษที่ 3 นายหนึ่งซึ่งอยู่ในเวียดนามใต้—พันตรี จอร์จ ดับเบิลยู. พีพรี—ได้เป็นทหารนายแรกบนภาคพื้นดินในการตีโฉบฉวยเซินเต็ย (ค.ศ. 1970) และต่อมาช่วยวางแผนการถอนทัพที่ไซ่ง่อน (30 เมษายน ค.ศ. 1975) และกลายเป็นทหารหน่วยรบพิเศษนายสุดท้ายที่ออกจากประเทศ)[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย