กลุ่มเบลาเออไรเทอร์

กลุ่มเบลาเออไรเทอร์ (เยอรมัน: Der Blaue Reiter, อังกฤษ: The Blue Rider) หรือแปลตรงตัวว่ากลุ่มคนขี่ม้าสีน้ำเงิน คือกลุ่มศิลปินจากกลุ่มศิลปินใหม่แห่งมิวนิกในเยอรมนี ซึ่งเป็นขบวนการศิลปะของเยอรมนีที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1911 จนถึง ค.ศ. 1914 บลู ไรเดอร์ เป็นพื้นฐานของเอ็กซเพรสชันนิสม์ และดีบรึคเคอ (Die Brücke) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อสิบปีก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1905

“หอม้าสีน้ำเงิน” โดย มาร์ก (อังกฤษ: Franz Marc) ค.ศ. 1913 (หายไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945)

ก่อนจะเป็นเบลาเออไรเทอร์

วาสสิลี แคนดินสกี (Wassily Kandinsky) และ ฟรานซ์ มาร์ก (Franz Marc) เจอกันครั้งแรกในปลายปี 1910 หลังจากที่มาร์กได้เขียนคำวิจารณ์ถึงการจัดนิทรรศการครั้งที่สองของ Neue Künstlervereinigung München(N.K.V.M. กลุ่มศิลปินหน้าใหม่ในมิวนิก) ก่อนที่จะเป็น เดอะ บลู ไรเดอร์ แคนดินสกีและศิลปินคนอื่น ๆ เคยเป็นสมาชิกของ N.K.V.M. กลุ่มศิลปินหน้าใหม่ในมิวนิกมาก่อนN.K.V.M. ได้เริ่มต้นก่อตั้งขึ้นในปี 1909 เป็นกลุ่มที่รวบรวมศิลปินที่ถูกเนรเทศออกจากกลุ่มศิลปะรัสเซีย ซึ่งได้แก่ วาสสิลี แคนดินสกี (Wassily Kandinsky), อเล็ก วอน จาวเลนสกี (Alexej von Jawlensky), Marianne von Werefkin, Vladimir von Berekhtyev กลุ่มศิลปินกลุ่มนี้จึงเป็นเสมือนการผสมผสานศิลปินต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยที่ภายหลังกลุ่มศิลปะกลุ่มนี้ก็ได้ดึงดูดศิลปินต่าง ๆ ให้เข้ามาได้ในไม่ช้า รวมถึง Alexander Kanoldt, Paul Baum, Carl Hofer,Adolf Erbsloh และ Gabriele Münter นักประวัติศาสตร์ศิลปะ อย่าง Heinrich Schnabel, Oskar Wittgenstein and Otto Fischer นักเต้นAlexander Sakharov นักดนตรีและนักเขียน ความหลากหลายนี้อาจจะเป็นแนวความคิดของแคนดินสกีที่ต้องการรวมเอาความหลายหลายทางศิลปะเข้าด้วยกันสถาบัน N.K.V.M.รวบรวมศิลปินเข้าด้วยกัน ไม่เพียงแต่เพื่อที่จะแสดงให้เห็นสิ่งที่อยู่ภายนอก แต่เพื่อที่จะแสดงให้เห็นโลกที่อยู่ภายในตัวของพวกเขาด้วย

สมาคมศิลปินหน้าใหม่ของมิวนิก ได้จัดนิทรรศการไปแล้ว 2 ครั้ง และมีการปะทะกันอย่างรุนแรง รวมถึงการแตกหักกัน ในระหว่างการเตรียมงานถึงสามครั้งครั้งแรกในเดือนธันวาคม 1909 ในการจัดนิทรรศการที่ Thanhauser ในปีถัดมาจากวันที่ 1-14 กันยายน เป็นการจัดนิทรรศการที่มีนิทรรศการอื่นถูกจัดขึ้นในสถานที่เดียวกันซึ่งมีการแสดงผลงานจากศิลปินรับเชิญ อย่างเช่น ปีกัสโซ (สเปน: Pablo Ruiz Picasso), Braque, Derain, van Donggenและ Georges Rouault เป็นความตั้งใจที่จะชี้ให้เห็นพัฒนาการขนานกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความตึงเครียดให้เกิดขึ้นภายในสมาคมในปี 1911 หลังจากความตึงเครียดที่ดำเนินมาเรื่อย ๆ สุดท้ายแคนดิสกีตัดสินใจลาออกจากการเป็นประธานที่ N.K.V.M.รวมถึงมาร์กด้วย พวกเขาทั้งสองลาออกจากการเป็นสมาชิก ในวันที่ 2 ธันวาคม 1911

ที่มาของชื่อ เบลาเออไรเทอร์

แคนดินสกี กล่าวว่า ชื่อของกลุ่มถูกคิดขึ้นมาในขณะที่เขากำลังนั่งดื่มกาแฟที่บ้านในเมือง Sindelsdors เขากล่าวว่า “พวกเราต่างก็ชอบสีฟ้า และชอบม้าเหมือน ๆ กัน ส่วนฉันก็ชอบคนขี่ม้า”ดังนั้นชื่อกลุ่มของเขาจึงถือได้ว่า เป็นชื่อที่ได้เปิดเผยให้เห็นความหมายที่ตรงไปตรงมาในตนเองอย่างมากพร้อมกับภาพจิตรกรรมของแคนดินสกี ที่ก็มักจะเป็น คนขี่ม้าสีน้ำเงิน (Der Blaue Reiter)

พัฒนาการ

ในปี 1911 หลังจากที่แคนดิสกีและมาร์กได้ออกจากกลุ่ม N.K.V.M. แคนดินสกีกลายเป็นบรรณาธิการ ของกลุ่มเดอะ บลู ไรเดอร์ และพวกเขาทั้งสองก็ได้รีบจัดนิทรรศการ ในวันเดียวกันกับงานเปิดนิทรรศการของกลุ่ม N.K.V.M. ซึ่งเป็นนัยหมายถึงการแสดงให้เหตุถึงพลังของศิลปะหัวก้าวหน้า ที่ก้าวหน้ากว่า

เดอะ บลู ไรเดอร์ แต่เดิมชื่อนี้ถูกเผยแพร่โดย Reinhard Piper (เยอรมัน: Reinhard Piper)ซึ่งเป็นผู้โฆษณาและวางแผนปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยที่วาสสิลี แคนดินสกี (อังกฤษ: Wassily Kandinsky) และฟรานซ์ มาร์ก (อังกฤษ: Franz Marc)ช่วยกันจัดนิทรรศการเพื่อแสดงให้เห็นถึงทฤษฎีและรูปแบบงานศิลปะของพวกเขาขึ้น ในปี 1911 และปี 1912 โดยนิทรรศการครั้งแรกถูกจัดขึ้นที่ Thannhauser Galleryในเมืองมิวนิกและเปิดแสดงในวันที่ 18 พฤศจิกายน 1911 นอกเหนือจาก วาสสิลี แคนดินสกี(อังกฤษ: Wassily Kandinsky) และฟรานซ์ มาร์ก(อังกฤษ: Franz Marc)แล้วก็ยังมีศิลปินคนอื่น ๆ อีกที่เข้าร่วมแสดงด้วย เช่น Gabriele Münter, Arnold Schönberg ซึ่งเป็นนักแต่งเพลง August Macke และ Heinrich Campendonkซึ่งเป็นศิลปินในกลุ่ม ไรน์นิช เอกซ์เพรสชั่นนิสม์ (อังกฤษ: Rhenish Expressionism)และ เดอลาเนย์ (Robert Delaunay) ศิลปินชาวฝรั่งเศสรวมถึงอเล็ก วอน จาวเลนสกี (Alexej von Jawlensky), Marianne von Werefkin และพอล คลี (Paul Klee) ก็ได้เข้าร่วมด้วยชื่อของศิลปินทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในกลุ่ม เดอะ บลู ไรเดอร์ ทั้งในบทความและสมุดภาพ

พัฒนาการขั้นที่สองของ เดอะ บลู ไรเดอร์ คือพื้นที่ในศิลปะอาร์ตนูโว (ฝรั่งเศส: Art Nouveau) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศิลปะของเมืองมิวนิกนิตยสาร 2 ฉบับ ที่ตีพิมพ์ในปี 1896 ได้แก่ นิตยสาร Jugend (คนหนุ่มสาว) และ นิตยสาร Simplicissimus ได้แสดงให้เห็นว่าศิลปินอาร์ตนูโวที่เป็นตัวแทนสำคัญที่สุดของมิวนิก คือ Von Stuck ซึ่งแนวคิดทั้งหมดของเขาถูกใส่ลงไปในงานศิลปะที่เขาทำส่งผลให้ถ้อยแถลงที่ถูกระบุโดยแคนดินสกีกลายเป็นเพียงความคิดที่ค่อนข้างจะธรรมดาไปแล้ว ในสภาพแวดล้อมของเขาเมืองมิวนิกที่เต็มไปด้วยแนวคิดที่เปิดกว้างเกี่ยวกับวงการศิลปะและด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เมืองมิวนิกเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับศิลปินทั้งหลาย

ศิลปินในกลุ่ม

ผลงาน

อ้างอิง

  • John E. Bowlt, Rose-Carol Washton Long. The Life of Vasilii Kandinsky in Russian art : a study of "On the spiritual in art" by Wassily Kandinsky. Pub l. Newtonville, Mass. USA. 1980. ISBN 0-89250-131-6 ISBN 0-89250-132-4
  • Wassily Kandinsky, M. T. Sadler (Translator) Concerning the Spiritual in Art. Dover Publ. (Paperback). 80 pp. ISBN 0-486-23411-8. or: Lightning Source Inc. Publ. (Paperback). ISBN 1-4191-1377-1
  • Shearer West (1996). The Bullfinch Guide to Art. UK: Bloomsbury Publishing. ISBN 0-8212-2137-X.
  • Hoberg, Annegret, & Friedel, Helmut (ed.): Der Blaue Reiter und das Neue Bild, 1909-1912, Prestel, München, London & New York 1999 ISBN 3-7913-2065-3
  • Hopfengart, Christine: Der Blaue Reiter, DuMont, Cologne 2000 ISBN 3-7701-5310-3

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย