กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (อังกฤษ: Ankylosing spondylitis; AS) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่มีการอักเสบของข้อต่อของกระดูกสันหลังในระยะยาว[2] โดยทั่วไปแล้วข้อต่อที่กระดูกสันหลังรวมกับเชิงกรานก็จะได้รับผลกระทบ ข้อต่ออื่น ๆ เช่นไหล่หรือสะโพกมีส่วนร่วมเป็นครั้งคราว ปัญหาเกี่ยวกับตาและลำไส้อาจเกิดขึ้นได้ อาการปวดหลังเป็นลักษณะเฉพาะของ AS และมักจะเกิดขึ้นแบบมาและไป[2] ความฝืดของข้อต่อที่ได้รับผลกระทบโดยทั่วไปแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป[2][4]

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด
(Ankylosing spondylitis)
ชื่ออื่นโรคเบคเทเรฟ (Bekhterev's disease), โรคเบเทเรว (Bechterew's disease), มอร์บุสเบคเทเรว (morbus Bechterew), โรคเบคเทเรฟ-ชตรึมเพล-แมรี (Bekhterev-Strümpell-Marie disease), โรคแมรี (Marie's disease), โรคข้ออักเสบแมรี-ชตรึมเพล (Marie–Strümpell arthritis), โรคปีแอร์-แมรี (Pierre–Marie's disease)[1]
โครงกระดูกในศตวรรษที่ 6 แสดงให้เห็นกระดูกสันหลังที่หลอมรวมกัน เป็นอาการแสดงของโรค AS ชนิดรุนแรง
สาขาวิชาวิทยารูมาติก
อาการปวดหลัง, ข้อฝืด[2]
การตั้งต้นวัยหนุ่มสาว[2]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[2]
สาเหตุไม่ทราบ[2]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ, การถ่ายภาพทางการแพทย์, การตรวจเลือด[2]
การรักษายา, การออกกำลังกาย และการผ่าตัด[2]
ยาเอ็นเสด, สเตียรอยด์, ดีมาร์ด[2]
ความชุก0.1 to 1.8%[3]

แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่ก็เชื่อว่าจะเกี่ยวข้องกับการปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มากกว่า 90% ของผู้ที่ได้รับผลกระทบมีแอนติเจนของเม็ดเลือดขาวเฉพาะของมนุษย์ที่เรียกว่า HLA B27[5] กลไกพื้นเดิมเชื่อว่าเป็นภูมิคุ้มกันตนเอง หรือ การอักเสบต่อตนเอง[6] โดยทั่วไปแล้วการวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับอาการด้วยการสนับสนุนจากการถ่ายภาพทางการแพทย์และการทดสอบเลือด[2]

โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด การรักษามีทั้งการใช้ยา การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด การรักษาโดยใช้ยาจะมุ่งเน้นไปที่การลดปวดและอาการร่วม รวมถึงหยุดไม่ให้โรคดำเนินไปโดยต้านกระบวนการการอักเสบในระยะยาว ยาที่มักใช้ในโรคนี้ เช่น เอ็นเสด, ตัวยับยั้งทีเอ็นเอฟ, ยาต้าน IL-17 แลด ดีมาร์ด การฉีดสเตียรอยด์มักใช้ในกรณีที่เกิดอาการขึ้นมาฉับพลันและรุนแรง[7]

ความชุกของโรคในประชากรอยู่ที่ราว 0.1% ถึง 0.8% โดยมักเริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[3][2] ทั้งเพศชายและหญิงสามารถพบโรคนี้ได้ โดยผู้หญิงมีแนวโน้มจะเกิดลักษณะการอักเสบมากกว่าการยึดติดของโรค[8] สำหรัชความชุกของโรคในประเทศไทยมีอยู่ที่ 0.12% (ปี 1998)[9]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย