กรมทหารพรานที่ 44

กรมทหารพรานที่ 44 (อักษรย่อ: กรม ทพ. 44; อังกฤษ: 44th Ranger Forces Regiment) เป็นหนึ่งในกองกำลังเฉพาะกิจของกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดปัตตานีในอำเภอที่ติดกับจังหวัดนราธิวาส[9][16] ดูแลอำเภอสายบุรี, อำเภอกะพ้อ และอำเภอไม้แก่น[17] ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี[18] และมีผู้บังคับการคนปัจจุบันคือ พันเอก ภาคภูมิ จันทรักษ์

กรมทหารพรานที่ 44
กรมทหารพรานที่ 44
ประเทศ ไทย
รูปแบบกำลังกึ่งทหาร
บทบาทปฏิบัติการสนธิกำลัง[1]
รักษาความปลอดภัย[2][3]
การลาดตระเวน[2][3]
หาข่าว[4]
ปิดล้อมตรวจค้น[5]
ยึดของกลาง[6]
ยึดอาวุธปืนและเครื่องกระสุน[7]
อาชาบำบัด[8]
กำลังรบ1,489 นาย (พ.ศ. 2554)[9]
กองบัญชาการอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
สมญามังกรสีม่วง
ดอกไม้เหล็กสีม่วง (หญิง)
สีหน่วย  ม่วง
สัญลักษณ์นำโชคมังกรทอง
วันสถาปนา19 มกราคม พ.ศ. 2527
ปฏิบัติการสำคัญความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[9][10][11][12]
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บังคับการปัจจุบันพันเอก ภาคภูมิ จันทรักษ์[13]
ผบ. สำคัญพันเอก ปกรณ์ จันทรโชตะ[14]
พันเอก ภูมิพัฒน์ บุญเรืองขาว[15]

นอกจากนี้ หน่วยเฉพาะกิจกรมกรมทหารพรานที่ 44 ยังได้เปิดศูนย์อาชาบำบัดให้แก่เด็กที่มีความพิการ, ความผิดปกติทางสมอง และเด็กพิเศษ โดยได้รับความช่วยเหลือจากสมาคมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย[8]

เหตุการณ์สำคัญ

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560 ได้เกิดเหตุลอบวางระเบิดที่อำเภอสายบุรี ส่งผลให้เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 เสียชีวิต 4 นาย และได้รับบาดเจ็บ 5 นาย[19] จากเหตุการณ์ดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เชิญพวงมาลาพระราชทาน และพวงมาลาประทาน มาวางไว้ที่หน้าหีบศพอาสาสมัครทหารพรานที่เสียชีวิต[3]

วันต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เชิญสิ่งของพระราชทาน ไปมอบแก่อาสาสมัครทหารพรานที่ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงญาติของอาสาสมัครทหารพรานที่เสียชีวิตจากเหตุลอบวางระเบิด[2]

จากเหตุลอบวางระเบิดดังกล่าว พลตรี จตุพร กลัมพสุต ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย ทั้งทหาร, ตำรวจ และฝ่ายปกครองกว่า 500 นาย เข้าตรวจสอบพื้นที่[19][20] ในภายหลัง เจ้าหน้าที่ได้รวบรวมพยานหลักฐาน โดยสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 5 ราย และมีคำสั่งพิพากษาที่ศาลจังหวัด แต่ได้รับการลดโทษ เนื่องจากจำเลยให้การสารภาพที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี[21][22]

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เจ้าหน้าที่อาสาสมัครทหารพรานถูกยิงเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บสาหัส 1 นาย หลังออกจากด่านตรวจคัดกรองโควิด-19[23][24]

ปฏิบัติการสำคัญ

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561 พลตรี จตุพร กลัมพสุต ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี ได้นำเจ้าหน้าที่ทหารพรานหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 44 เข้าปิดล้อมตรวจค้นบุคคลตามหมายคดีความมั่นคง ที่อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี และเกิดการยิงปะทะ เมื่อสิ้นเสียงปืน คนร้ายถูกวิสามัญ 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุรุนแรงระดับหัวหน้า[5]

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 (ตชด.44) เข้าติดตามบุคคลเป้าหมายยาเสพติดในพื้นที่รอยต่ออำเภอปะนาเระกับอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งขณะเจ้าหน้าที่ตรวจค้น ได้เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่เพื่อเปิดทางหลบหนี แต่ทางเจ้าหน้าที่ได้เกลี้ยกล่อม และดำเนินการจับกุม เมื่อตรวจสอบ จึงพบว่าเป็นคนร้ายคดีความมั่นคง ที่เคยวางระเบิดสังหารทหารพราน และยิงประชาชนรวมถึงเจ้าหน้าที่อาสารักษาดินแดน จนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายราย ทางเจ้าหน้าที่จึงทำการยึดอาวุธปืน และส่งตัวเข้าหน่วยซักถาม ณ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 เพื่อขยายผลต่อไป[25][26]

กิจกรรมเพื่อสังคม

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 ได้จัดชุดช่างจากกองร้อยทหารพรานที่ 4403 และกองร้อยทหารพรานที่ 4408 ร่วมกับประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ ดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้แก่ประชาชนที่มีฐานะยากจน[27]

นอกจากนี้ ทหารพรานหญิง จากกรมทหารพรานที่ 44 มักได้รับการกล่าวถึงผ่านหลายสื่อ ในบทบาทของเหล่าพลรบ, เจ้าหน้าที่พยาบาล และช่วยเหลือประชาชน[28][29]

โครงสร้าง

  • กองร้อยทหารพรานที่ 4401[30][31]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4402 – ชุดพัฒนาสันติ ถูกผู้ก่อความไม่สงบใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ถล่มฐานเมื่อปี พ.ศ. 2553[32]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4403[33][34]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4404[35][36][37]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4405[6]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4406[38]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4407[39]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4408[40]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4409 – เปิดศูนย์อาชาบำบัด[8]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4410[41][42]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4411[43]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4412 – มีพลยิงเครื่องยิงจรวด[2][3]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4413[44]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4414[45][46]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4415[47]
  • กองร้อยทหารพรานที่ 4416[48]
  • หมวดทหารพรานหญิง กรมทหารพรานที่ 44

สิ่งสืบทอด

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 กรมทหารพรานที่ 44 ได้รับสิ่งของช่วยเหลือมูลค่ากว่า 2 แสนบาทจากเงินส่วนตัวของหญิงสาวชาวไทย ที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์[49]

นอกจากนี้ ที่ฐานปฏิบัติการทหารพรานที่ 44 ได้เปิดโครงการอาชาบำบัด ซึ่งใช้ม้าในการบำบัดเยาวชนที่มีความผิดปกติทางสมอง เนื่องด้วยเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนกว่าร้อยละ 60 ไม่ได้รับวัคซีนครบ อันมาจากความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โครงการนี้ได้ช่วยรักษาหลายโรค เช่น เด็กพิเศษ, โรคสมาธิสั้น และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่วนม้าที่ใช้ในการบำบัด เป็นม้าสายเลือดผสมที่ตัวไม่ใหญ่ ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะกับเด็ก[50][51]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

  • อส.ทพ.หญิง ภัทรบดินทร์ รัตนากรกุล (ไอซ์) – เจ้าหน้าที่พยาบาล กองบังคับการหน่วยเฉพาะกิจ[29][52][53][54]
  • อส.ทพ.หญิง จรรยวรรธน์ ศรีสวัสดิ์ (แตงโม) – เจ้าหน้าที่พยาบาล กองบังคับการหน่วยเฉพาะกิจ[29][52][55][56]

ยุทโธปกรณ์

ยานพาหนะภาคพื้นดิน

รุ่นภาพประเภทที่มาหมายเหตุ
รีวา เอพีซี[57][58][59] รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ  แอฟริกาใต้
ฮัมวี รถเกราะขนาดเล็ก/รถอเนกประสงค์ขนาดเล็ก  สหรัฐ
นิสสัน นาวารา (หุ้มเกราะ)รถเกราะ  ญี่ปุ่นรถกระบะดัดแปลง
ฮีโน่ 300 รถบรรทุก 6 ล้อ  ญี่ปุ่นใช้สีเขียวขี้ม้า ทะเบียนตรากงจักร
อีซูซุ ดีแมคซ์[6][60][61] รถกระบะ  ญี่ปุ่น
ฮอนด้า เวฟ[62] จักรยานยนต์  ญี่ปุ่น

อากาศยาน

รุ่นภาพประเภทที่มาหมายเหตุ
ยูเอช-1 ไอระควอย เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์  สหรัฐอนุมัติการใช้โดยกองทัพบกไทย

อาวุธเล็ก

ชื่อภาพประเภทขนาดลำกล้องที่มาหมายเหตุ
กล็อก 26 ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ9×19 มม. พาราเบลลัม  ออสเตรียสามารถติดตั้งชุดเสริม ซีเอเอ โรนี จี 2
เอ็ม 16[6][63] ปืนเล็กยาวจู่โจม5.56×45 มม. นาโต  สหรัฐ
เอ็ม 4 เอ 1 คาร์ไบน์ ปืนเล็กยาวจู่โจม5.56×45 มม. นาโต  สหรัฐใช้ในหน่วยรบพิเศษ บางกระบอกมีชุดอุปกรณ์โซปมอดติดตั้ง
เอชเค 33 ปืนเล็กยาวจู่โจม5.56×45 มม. นาโต  เยอรมนี
 ไทย
นอริงโก ซีคิว-เอ ปืนเล็กยาวจู่โจม5.56×45 มม. นาโต  จีน
เอเค 104 คาร์บิน7.62×39 มม.  รัสเซียกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกจัดหาจากสหพันธรัฐรัสเซีย
เรมิงตัน 1100 ปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติลูกซองขนาด 12  สหรัฐ
แอมอาเซ-58ปืนกลหนัก12.7×99 มม. นาโต  ฝรั่งเศส
เบเรตตา จีเอลเลอิกซ์ 160 เครื่องยิงลูกระเบิดลูกระเบิดขนาด 40×46 มม.  อิตาลีกองทัพบกไทยจัดหาให้ทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่ทราบเครื่องยิงจรวด[2][3]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย